มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ
การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์
ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
ทุกข์ : ธรรมที่ควรรู้ มีดังนี้
โลกธรรม 8
ความหมาย โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องธรรมดาของโลกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หรือสิ่งที่ครอบงำมนุษย์ 8 ประการ
สาระสำคัญของโลกธรรม 8 สรุปดังนี้
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)
1. ได้ลาภ
2. ได้ยศ
3. มีสรรเสริญ
4. มีสุข
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)
1. เสื่อมลาภ
2. เสื่อมยศ
3. มีนินทา
4. มีทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
สมุทัย : ธรรมที่ควรละ มีดังนี้
กรรมนิกาย
กรรมนิกาย คือ กฎแห่งการกระทำของมนุษย์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “กฎแห่งกรรม”ซึ่งชาวพุทธมักสรุปหลักคำสอนเรื่องนี้ว่า “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว”
กรรม 12
กรรม 12 คือ กรรมที่จำแนกตามผลที่ได้รับ มี 12 ประเภท ดังนี้
1. กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ กรรมที่ให้ผลชาติหน้า กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป และกรรมที่เลิกผล (อโหสิกรรม)
2. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ชักนำให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมตัดรอน และกรรมบีบคั้น
3. กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง 4 กรรม ได้แก่ กรรมหนัก กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชินกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย และกรรมสักแต่ว่าทำ (ไม่มีเจตนา)
มิจฉาวณิชชา 5
มิจฉา วณิชชา 5 หมายถึง การค้าขายที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม 5 อย่างที่ชาวพุทธต้องละเว้นหรือไม่ควรทำ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ การค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร การค้าของมึนเมา และการค้ายาพิษ (สิ่งเสพย์ติด)
นิโรธ : ธรรมที่ควรบรรลุ มีดังนี้
วิมุตติ 5
วิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้น ไม่มีความทุกข์ ภาวะที่ไร้กิเลส หรือภาวะที่ทุกข์ดับ (ความหมายเดียวกับคำว่า นิโรธ ) มี 5 ประการ (เรียกย่อ ๆ ว่า สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ
1. หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เป็นการระงับกิเลสด้วยการเจริญสมาธิ (สมถะ)
2. หลุด พ้นด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น หลุดพ้นจากความโกรธด้วยการให้อภัย หลุดพ้นจากความตระหนี่และความโลภด้วยการให้ทาน และหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวด้วยการเสียสละ (วิปัสสนา)
3. หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด คือ
การทำลายกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไปด้วยญาณขั้นสูงสุด (มรรค)
4. หลุดพ้นอย่างสงบราบคาบ คือ
หลุดพ้นเป็นอิสระเพราะกำจัดกิเลสที่ครอบงำได้อย่างราบคาบ (ผล)
5. หลุดพ้นจนเกิดภาวะปลอดโปร่ง คือ
การเข้าสู่ภาวะนิพพาน
มรรค : ธรรมที่ควรเจริญ มีดังนี้
ปาปณิกธรรม 3
ปาปณิกธรรม หมายถึง คุณสมบัติของพ่อค้าแม่ค้าที่ดี หรือหลักการค้าขายให้ประสบผลสำเร็จ มี 3 ประการ ดังนี้
1. ตาดี (จักขุมา) คือ รู้ลักษณะของสินค้าที่ดีมีคุณภาพ รู้ต้นทุน กำหนดราคาขายและคำนวณผลกำไรได้ถูกต้อง
2. ชำนาญธุรกิจ (วิธูโร) คือ รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า รู้ความเคลื่อนไหวของตลาด และรู้ถึงรสนิยมความชอบและความต้องการของผู้บริโภค
3. มีเงินทุน (นิสสยสัมปันโน) คือ รู้จักแหล่งกู้เงินมาลงทุนเพื่อมีเงินทุนหมุนเวียน และได้รับความไว้วางใจจากนายทุนเงินกู้
อปริหานิยธรรม 7
อปริหานิยธรรม แปลว่า ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ธรรมที่ทำให้เกิดความเจริญทั้งส่วนตนและส่วนรวม หรือหลักปฏิบัติที่นำความสุขความเจริญมาสู่หมู่คณะ เป็นหลักธรรมที่เน้นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความสามัคคีของหมู่คณะ และการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน สรุปได้ดังนี้
1. หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงในการประชุม มาประชุม เลิกประชุม และทำภารกิจอื่น ๆ ให้พร้อมกัน
3. ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ๆ ตามอำเภอใจ โดยผิดหลักการเดิมที่หมู่คณะวางไว้
4. เคารพนับถือผู้มีอาวุโส และรับฟังคำแนะนำจากท่าน
5. ไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี
6. เคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และรูปเคารพต่าง ๆ
7. ให้ความคุ้มครองพระสงฆ์ผู้ทรงศีลและนักบวชอื่น ๆ ให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัย
โภคอาทิยะ 5
โภค อาทิยะ (หรือโภคาทิยะ) หมายถึง หลักธรรมที่สอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้หรือแนวทางในการใช้จ่าย โภคทรัพย์ (ทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค)มี 5 ประการ ดังนี้
1. ใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ให้อยู่ดีมีสุข
2. ใช้จ่ายเพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานเป็นครั้งคราว
3. ใช้จ่ายเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย
4. ใช้จ่ายเพื่อทำพลี 5 อย่าง คือ สงเคราะห์ญาติ,ต้อนรับแขก,บำรุงราชการ (เสียภาษี), บำรุงเทวดา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของสังคม) และทำนุบำรุงให้บุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว
5. ใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล และกิจการพระศาสนา
อริยวัฑฒิ 5
อริยวัฑฒิ หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม หรือความเป็นอารยชน
หรือความเป็นคนดีในอุดมคติ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้
1. ศรัทธา (งอกงามด้วยศรัทธา) หมายถึง มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล เช่น เชื่อว่าบุญบาปมีจริง เชื่อในผลของกรรม และเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
2. ศีล (งอกงามด้วยศีล) หมายถึง รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป
3. สุตะ (งอกงามด้วยสุตะ) หมาย ถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อ เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแสดงหาความรู้อีกด้วย
4. จาคะ (งอกงามด้วยจาคะ) หมายถึง รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
5. ปัญญา (งอกงามด้วยปัญญา) หมายถึง มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก
ทิฏฐธัมิกัตถประโยชน์
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักปฏิบัติที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่บุคคลมี 4 ประการ คือ
1. ความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) มีความขยันหมั่นเพียรในกิจการงาน
2. การเก็บรักษา (อารักขาสัมปทา) หรือประหยัด ใช้จ่ายพอดี รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้
3. การคบคนดีเป็นมิตร (กัลยาณมิตร)รู้จักเลือกคบคนดี คนมีคุณธรรม และมีความรู้
4. การดำรงชีพที่เหมาะสมพอดีหรือตามกำลังทรัพย์ ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะของตน
อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ
หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกฺข-นิโรธคามินีปฎิปทา-อริยสจฺจ)
หนทางสายนี้เรียกว่า "ทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา)
เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ
ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่
การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา ไม่เป็นประโยชน์
และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน
ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค) เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ
1. เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)
3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
5. เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชี
6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม
8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ
ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค) เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ
1. เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)
3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
5. เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชี
6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม
8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ
ใน ทางปฏิบัตินั้น
คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปีนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธิการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับ
การพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภัร์ต่างๆ
ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่เข้าใจว่า
องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ
โดยเรียงตามลำดับหมายเลขดังรายการที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น องค์ต่างๆ เหล่านั้นจะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง
น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน
และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย
องค์ 8 ประการเหล่านี้
มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และทำให้หลักการ 3 อย่างของการฝึกอบรม
และการควบคุมตนเองของชาวพุทธมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ
1.ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล)
2.การควบคุมทางจิตใจ (สมาธิ)
3.ปัญญา (ปัญญา)
ดังนั้น
คงจะช่วยให้ได้เข้าใจองค์ 8
ประการของทางสายกลางได้ดี และได้ใจความต่อเนื่องยิ่งขึ้น
หากเราจัดแบ่งกลุ่มอธิบายองค์ 8 ประการตามหัวข้อ 3 นั้น ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล) ถูกสร้างขึ้นมากจากความคิดอันกว้างไกล
ที่ต้องการให้มีความเมตตา และกรุณาโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นที่น่าเสียดายว่ามีนักปราชญ์หลายท่านลืมอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ในคำสอนของ พระพุทธองค์นี้ไป
และพากันไปหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องนอกประเด็นทางด้านปรัชญา และอภิปรัชญาที่น่าเบื่อหน่ายเมื่อพูด
และเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนา พระ พุทธองค์ทรงประทานคำสอนของพระองค์ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แห่ชาวโลก (พหุชนติตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย)
กิจในอริยสัจ 4
กิจในอริยสัจ
คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
1.
ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้
คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง
เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
2.
ปหานะ - สมุทัย ควรละ
คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
3.
สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
4.
ภาวนา - มรรค ควรเจริญ
คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์
หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง
การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ,
กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ
12 ดังนี้
1.
สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
1.
นี่คือทุกข์
2.
นี่คือเหตุแห่งทุกข์
3.
นี่คือความดับทุกข์
4.
นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
2.
กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
1.
ทุกข์ควรรู้
2.
เหตุแห่งทุกข์ควรละ
3.
ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
4.
ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
3.
กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
1.
ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
2.
เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
3.
ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
4.
ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว